ข้อมูลทั่วไป
-
ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล
1. ที่ตั้ง
ที่ตั้ง ของเทศบาลตำบลวังบงค์ห่างจากอำเภอดงเจริญระยะทาง 9 กิโลเมตร
2. เนื้อที่
เนื้อที่ของเทศบาลตำบลวังบงค์จำนวน 20,931.25 ไร่
เนื้อที่ของเทศบาลตำบลวังบงค์จำนวน 33.49 ตารางกิโลเมตร
3. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลห้วยร่วมและตำบลห้วยพุก อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลวังงิ้วใต้ อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
4. จำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่ ประกอบด้วย
หมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสำนักขุนเณรทั้งหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1
หมู่บ้านที่อยู่ในเขต เทศบาลตำบลวังบงค์ จำนวน 10 หมู่บ้าน 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11
5. จำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 4,140 คน แยกเป็นชาย 2,045 คน หญิง 2,095 คน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 111.68 คน/ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,976 คน
6. จัดตั้งเมื่อ
เทศบาลตำบลวังบงค์ยกฐานะเมื่อ วันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ.2551
-
ตำบลสำนักขุนเณร เดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตตำบลวังงิ้ว อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2510 สมัยกำนันชิด กำเฉลียว กำนันตำบลวังงิ้วได้มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ด้วยการแยกตำบลสำนักขุนเณร ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน โดยมีที่มาของการตั้งชื่อตำบลสำนักขุนเณร เกิดจากการที่มี “ตาขุนเณร” มีความประสงค์ในการยกที่ดินของตนให้ “หลวงพ่อเขียน”เพื่อใช้ในการก่อสร้างวัด และหลวงพ่อเขียนได้ตั้งวัดว่า“วัดสำนัก”เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ผู้อุทิศที่ดินจึงเรียกกันว่า“สำนักขุนเณร”นับแต่นั้นมาชาวบ้านจึงใช้เป็นชื่อเรียกของตำบลจนถึงปัจจุบัน ในการก่อตั้งตำบลสำนักขุนเณร มีบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับตำบล ได้แก่
1. กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ
2. กำนันเทิดศักดิ์ วรรณศรี
3. กำนันจิตร วรรณศรี
4. กำนันบุญมี บุญนำ
5. กำนันมงคล พุกเปี่ยม(คนปัจจุบัน)
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ออกพระราชบัญญัติสภา ตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 (ตามเสียงเรียกร้องของประชาชน ต้องการกระจายอำนาจแทนที่จะรวมศูนย์ อยู่ในส่วนกลางหรือภูมิภาค ความเจริญเติบโตในชนบทจึงไม่ค่อยทั่วถึง)
-
เทศบาลตำบลวังบงค์ จะเป็นองค์กรที่มีศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านการผลิตข้าวพันธุ์ดี ชีวีปลอดภัยเน้นเศรษฐกิจพอเพียง
การศึกษาที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมที่ดี บนพื้นฐานการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพพันธกิจ1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. ให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษา อบรม
7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล